วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Lesson 11

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน  
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  30/11/58
เรียนครั้งที่ 11 เวลาเรียน 08:30 - 12:30
กลุ่ม 101 วันจันทร์ ห้อง 223




Knowledge

ภาพผลงาน










ผลงานของเพื่อนๆในห้อง






              สาระมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ก็สามารถนำมาพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยได้หลาก

หลายกิจกรรมที่ครูจะจัดให้เด็กได้รับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์มากน้อยเพียงใด ตัวอย่าง เช่น



สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ

     เรื่อง  การรวมและการแยกกลุ่ม



สาระที่2 การวัด

        เรื่อง  ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร



สาระที่3 เรขาคณิต

      เรื่อง  รูปเลขาคณิตสามมิติ และรูปเลขาคณิตสองมิติ




สาระที่4 พีชคณิต

       เรื่อง  แบบรูปและความสัมพันธ์



สาระที่5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

     เรื่อง การเก็บรวบรวมข้อมูล และการนำเสนอ



สาระที่6  ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

     เรื่อง  การเก็บรวบรวมข้อมูล








สรุปความรู้


           ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยมีช่วงอายุที่สมองของคนเรามีการพัฒนามากที่สุดคือ 

แรกเกิด - 3 ขวบ  และช่วงที่สมองจะหยุดการสร้างเซลล์สมองก็คือ ช่วงอายุ 7 ขวบ ซึ่งในช่วงนี้สมอง

คนเราไม่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นแล้ว แต่จะคงที่ หรือลดน้อยลง

     อาจารย์สอนเทคนิคการกระตุ้นและผ่อนคลายสมอง( brain ) และให้ทำไปพร้อมๆกัน ซึ่งเพื่อนๆก็มีคนที่

ทำได้และทำไม่ได้ เพราะเป็นระบบประสาทของแต่ละคนมีการสั่งงานที่ต่างกัน เทคนิคการกระตุ้นและผ่อน

คลายสมองจึงเป็นวิธีการที่ดีสำหรับการฝึกสมาธิที่ดี


เทคนิคการกระตุ้นและผ่อนคลายสมอง( brain )


๑. การบริหารปุ่มสมอง ปุ่มขมับ ปุ่มใบหู
►ปุ่มสมอง
ใช้มือซ้ายวางบริเวณใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้า จะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนัง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุมตื้นๆ ๒ ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว หรือมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ ๓๐ วินาที และให้นำมือขวาวางไปที่ตำแหน่งสะดือ
ขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย และจากพื้นขึ้นเพดาน จากนั้นให้เปลี่ยนมือด้านขวาทำเช่นเดียวกัน


ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง
 เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
♦ ช่วยสร้างให้ระบบการสื่อสารระหว่างสมอง ๒ ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น


►ปุ่มขมับ


๑. ใช้นิ้วทั้ง ๒ ข้างนวดขมับเบาๆ วนเป็นวงกลม ประมาณ ๓๐ วินาที ถึง ๑ นาที
๒. กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้นมองขึ้นไปที่เพดาน



ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ
 เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น
♦ ทำให้การทำงานของสมองทั้ง ๒ ซีกสมดุลกัน

► ปุ่มใบหู


๑. ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง ๒ ข้าง
๒. นวดตามริมขอบนอกของใบหูทั้ง ๒ ข้างพร้อมๆ กัน ให้นวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหูเบาๆ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความจำและมีสมาธิมากขึ้น


ประโยชน์ของการกระตุ้นปุ่มใบหู
♦ เพื่อกระตุ้นหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น
♦ สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น

๒. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (cross crawl)
ท่าที่ ๑ นับ ๑-๑๐
  
๑. ยกมือทั้ง ๒ ขึ้นมา
๒. มือขวา ชูนิ้วชี้ตั้งขึ้น นับ ๑  มือซ้าย ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือขนานกับพื้น
๓. นับ ๒ ให้เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายชู ๒ นิ้ว คือ นิ้วชี้กับนิ้วกลาง  ส่วนมือขวาก็ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๔. นับ ๓ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ๓ นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง  มือซ้ายก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
   
๕. นับ ๔ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ๔ นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย  ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๖. นับ ๕ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ๕ นิ้ว คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย  ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๗. นับ ๖ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วก้อย  ส่วนมือขวาให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
      
๘. นับ ๗ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วนาง  ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๙.  นับ ๘ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือ คือแตะที่นิ้วกลาง
 ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๑๐. นับ ๙ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วชี้ ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๑๑. นับ ๑๐ ให้เปลี่ยนมาเป็นกำมือซ้าย ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
ประโยชน์ของการบริหารท่านับ ๑-๑๐
♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา
♦ เพื่อกระตุ้นความจำ


ท่าที่ ๒ จีบ L
๑. ยกมือทั้ง ๒ ข้างขึ้นมา ให้มือขวาทำท่าจีบ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ ส่วนนิ้วอื่นๆ ให้เหยียดออกไป
๒. มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้
๓. เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้ายบ้าง ทำเช่นเดียวกับข้อ ๑ ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวแอล (L) เช่นเดียวกับข้อ ๒
๔. ให้ทำสลับกันไปมา ๑๐ ครั้ง
                  
ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา
♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุล มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
♦ เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

ท่าที่ ๓ โป้ง-ก้อย
๑. ยกมือทั้ง ๒ ข้างขึ้นมาให้มือขวาทำท่าโป้ง โดยกำมือและยกหัวแม่มือขึ้นมา ส่วนมือซ้ายให้ทำท่าก้อย โดยกำมือและเหยียดนิ้วก้อยชี้ออกมา
๒. เปลี่ยนมาเป็นโป้งด้วยมือซ้ายและก้อยด้วยมือขวา
๓. ให้ทำสลับกันไปมา ๑๐ ครั้ง
                  

 ท่าที่ ๔ แตะจมูก-แตะหู
๑. มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)
๒. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายแตะที่หูขวา ส่วนมือขวาไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)
               

ประโยชน์ของการบริหารท่าแตะจมูก-แตะหู
♦ ช่วยให้มองเห็นภาพทางด้านซ้ายและขวาดีขึ้น

ท่าที่ ๕ แตะหู
๑. มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา
๒. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา ส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย
                   
ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย แตะจมูก-แตะหู
♦ เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
♦ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
♦ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด


๓. การผ่อนคลาย
ยืนใช้มือทั้ง ๒ ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบาๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ ๕-๑๐ นาที
ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย
♦ ทำให้เกิดสมาธิ เป็นการเจริญสติ




     ช่วงสุดท้ายของการเรียนการสอน อาจารย์ก็แจกรางวัลเด็กดี รางวัลย์สำหรับเด็กดี คือ สมุดโน๊ตและที่คั่นหนังสือ น่ารักมากๆเลยค่ะ ^^ และอาจารย์ก็อวยพร







Skill
  • การใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การสอนกิจกรรมพิเศษ

Adoption

       นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กๆ เพื่อให้เด็กๆ ได้ฝึกใช้ความคิดให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอย่างสูงสุด และนำเทคนิคการบริหารไปฝึกใช้เองรวมทั้งสอนเด็กๆด้วย

Technical Education
  • การให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  • การแสดงตัวอย่าง
  • ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

Evaluation

Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อย ร่วมทำกิจกรรมและตั้งใจทำกิจกรรม ทุกๆ                      กิจกรรม ส่งงานตรงเวลา และได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตนเองด้วย

Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังอาจารย์ดี และตั้งใจทำกิจกรรม


Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอและคอยกระตุ้นให้         นักศึกษาฝึกการคิดและมีเทคนิคต่างๆที่นำไปใช้ได้ มีการแสดงตัวอย่างให้เห็น

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Lesson 10

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน  
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  16/11/58
เรียนครั้งที่ 10 เวลาเรียน 08:30 - 12:30
กลุ่ม 101 วันจันทร์ ห้อง 223




Knowledge

  • กิจกรรมร้านขนมหวาน


โดยมีคำถามทัังหมด 4 ข้อ ได้แก่
  1. เมื่อเราเดินไปในร้านขนม ขนมชิ้นไหนที่เราจะหยิบ และทำไมถึงหยิบ 
  2. ระหว่างที่ซื้อขนมอยู่ มองออกไปนอกร้านมีเด็กกลุ่มหนึ่งยืนอยู่หน้าร้านขนม คิดว่าเด็กกลุ่มนั้นจะเข้ามาในร้านขนมกี่คน
  3. เมื่อซื้อขนมเสร็จแล้ว ก็กลับบ้าน พอเปิดขนมดูปรากฏว่า คนขายแถมขนมให้ คิดว่าคนขายจะแถมขนมให้กี่ชิ้น
  4. ขนมที่ซื้อมา ถ้าจะนำไปให้ใครสักคนหนึ่ง จะให้ใคร



  • เรียนใน power point เรื่อง ศิลปะสร้างสรรค์

ศิลปะสร้างสรรค์


ความหมาย

- เป็นเครื่องมือที่ให้เด็กแสดงความรู้สึก ความต้องการออกมาผ่านผลงาน

- การวาด การปั้น การประดิษฐ์ การตัด การฉีก การปะ การพับ

 ความสำคัญและประโยชน์ของศิลปะสร้างสรรค์

-เด็กได้แสดงความรู้สึก ความคิด ความสามารถ

-ตอบสนองธรรมชาติและความต้องการของเด็ก

-บำบัดอารมณ์

-ฝึกทักษะการทำงานของอวัยวะต่างๆ

-แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเด็ก


พัฒนาการทางศิลปะของ (Lowenfeld and Britain)

1      1.ขั้นขีดเขียน (Scribbling Stage)
       -  2-4 ปี
       -  ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

.       2.ขั้นก่อนมีแบบแผน (Preschemalic Stage)
      -  4-7 ปี
      -  ภาพมีความสัมพันธ์กับความจริง

3      3. ขั้นใช้สัญลักษณ์ (Schemalic Stage)
      -  7-9 ปี
      -  คล้ายของจริง

หลักการจัดประสบการณ์ศิลปะ

กระบวนการสำคัญกว่าผลงาน

หลีกเลี่ยงการวาดภาพตามแบบ การระบายสีจากสมุดภาพ

ชื่นชม

เตรียมอุปกรณ์

ศิลปะสำคัญเช่นเดียวกับการเขียนอ่าน

หลีกเลี่ยงคำถาม “กำลังทำอะไร” หรือ “เดาสิ่งที่เด็กทำ”


กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

- กิจกรรมสี

- การปั้น

- การตัดปะ

- การพับ

- การประดิษฐ์







การสอนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์





การสอนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น 4 ฐาน
- ฐานที่1-3  เป็นกิจกรรมศิลปะที่ทำเป็นประจำอยู่ทุกๆวัน เช่น วาดภาพ ระบายสี และปั้นดินน้ำมัน
- ฐานที่4     เป็นกิจกรรมพิเศษที่คุณครูคิดขึ้นมา และสอดคล้องกับหน่วยที่เด็กเรียนอยู่ด้วย

ตัวอย่างกิจกรรมพิเศษ


ขั้นนำ

- พูดคุยกับเด็กๆ ถามเด็กๆว่า "เด็กๆเห็นอะไรอยู่บนโต๊ะคุณครูบ้างค่ะ " ถามได้อีก  เช่น"เด็กๆจะเอาของพวกนี้มาทำอะไรได้บ้างคะ"

- แนะนำอุปกรณ์ว่ามีอะไรบ้าง

ขั้นสอน

- อธิบายวิธีการทำ พร้อมสาธิตการทำให้เด็กๆดู

- ให้เด็กๆลงมือปฏิบัตืด้วยตนเอง

ขั้นสรุป

- ให้เด็กออกมาเล่าเกี่ยวกับผลงานของตัวเอง

- จัดมุมโชว์ผลงานของเด็กๆ ทุกคน






Skill
  • การใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การสอนกิจกรรมพิเศษ

Adoption

       นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กๆ เพื่อให้เด็กๆ ได้ฝึกใช้ความคิดให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอย่างสูงสุด

Technical Education
  • การให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  • การแสดงตัวอย่าง
  • ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

Evaluation

Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อย ร่วมทำกิจกรรมและตั้งใจทำกิจกรรม ทุกๆกิจกรรม                     และได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตนเองด้วย

Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังอาจารย์ดี และตั้งใจทำกิจกรรม


Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอและคอยกระตุ้นให้              นักศึกษาฝึกการคิดและมีเทคนิคต่างๆที่นำไปใช้ได้ มีการแสดงตัวอย่างให้เห็น