วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Lesson 9

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน  
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  9/11/58
เรียนครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08:30 - 12:30
กลุ่ม 101 วันจันทร์ ห้อง 223


Knowledge


  • การสอบเขียนกระดานเป็นกลุ่ม


นิทาน เรื่อง ผักมีประโยชน์

หนูไปซื้อผักกับแม่ที่ตลาด
หนูเห็นผักหลายอย่างเลย
มีแครอท แตงกวา คะน้า
เอาผักมาทำอาหาร
กินผักร่างกายแข็งแรง









การสอนของเพื่อนๆ กลุ่มอื่น

สอนเรื่อง โรงเรียนของฉัน


สอนเรื่อง วันลอยกระทง


สอนเรื่อง กระต่ายของฉัน



  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

1.อาจารย์ให้เคลื่อนไหวที่ละคน


รอบที่1 เคลื่อนไหวคนละท่า ห้ามซ้ำกัน
รอบที่2 เคลื่อนไหวตามชื่อของตนเอง
รอบที่3 เคลื่อนไหวตามเพื่อนคนที่อยู่ข่างขวา และเคลื่อนไหวตามชื่อของตนเอง

2.อาจารย์ให้เคลื่อนไหวตามจินตนาการ และเคลื่อนไหวตามข้อตกลง

3.อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม แล้วมาทดลองสอน
   โดยอาจารย์กำหนดข้อตกลง คือ เคลื่อนไหวคนเดียว จับกลุ่ม2คน จับกลุ่ม4คน จับกลุ่ม6คน 
และจับกลุ่ม8คน และกลุ่มดิฉันสอนเรื่อง ปลา

การทดลองสอน

    ในการสอนให้เด็กๆเคลื่อนไหวโดนฟังจังหวะจากครู และเมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้เด็กๆ ฟังข้อตกลงของครู มีดังนี้
  1. เคลื่อนไหวคนเดียวเป็น ปลา
  2. เคลื่อนไหวแบบจับคู่2คนเป็น กุ้ง
  3. เคลื่อนไหวแบบจับกลุ่ม4คนเป็น ปลาหมึก
  4. เคลื่อนไหวแบบจับกลุ่ม8คนเป็น ปู

สรุป
      กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆได้เป็นอย่างดี
และการเคลื่อนไหวที่จะส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ คือ การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ ครูไม่ควรตีกรอบ เพื่อให้เด็กได้คิดเอง เพราะจะพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น




Skill
  • ทักษะการเขียนกระดาน
  • การทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ


Adoption

       ถ้าเราฝึกเขียนกระดานบ่อยๆ จะทำให้เราเขียนคล่อง ตัวหนังสือสวยและอ่านง่าย เด็กๆก็จะซึมซับตัวอย่างตัวอักษรที่เราเขียนไปด้วย และนำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไปประยุกต์ใช้

Technical Education
  • การให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  • การแสดงตัวอย่าง
  • ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

Evaluation

Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อย ร่วมทำกิจกรรมและตั้งใจทำกิจกรรม ทุกๆกิจกรรม                     และได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตนเองด้วย

Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังอาจารย์ดี และตั้งใจทำกิจกรรม


Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอและคอยกระตุ้นให้              นักศึกษาฝึกการคิดและมีเทคนิคต่างๆที่นำไปใช้ได้ มีการแสดงตัวอย่างให้เห็น




Lesson 8

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน  
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  2/11/58
เรียนครั้งที่ 8 เวลาเรียน 08:30 - 12:30
กลุ่ม 101 วันจันทร์ ห้อง 223



Knowledge


  • ทบทวนเนื้อเพลง
เพลง Twinkle ,twinkle,little star


เพลง Where is Thumkin?




  • อาจารย์สาธิตการเขียนนิทาน และการแต่งนิทานร่วมกับเด็ก





  • อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเพื่อหัดเขียนกระดาน




  • แต่งนิทานที่จะใช้สอนเด็ก
นิทาน เรื่อง ผักมีประโยชน์

หนูไปซื้อผักกับแม่ที่ตลาด
หนูเห็นผักหลายอย่างเลย
มีแครอท แตงกวา คะน้า
หนูเอาผักมาทำอาหาร
กินผักแล้วร่างกายแข็งแรง


สรุป
       การเขียนกระดานที่ถูกต้องควรจะนั่งเฉียบงเข้าหากระดาน45องศา ไม่ควรนั่งบังกระดาน
การฝึกเขียนกระดานบ่อยๆ จะทำให้เราเขียนได้คล่อง และเขียนสวย อ่านง่าย


Skill
  • ทักษะการเขียนกระดาน


Adoption

       ถ้าเราฝึกเขียนกระดานบ่อยๆ จะทำให้เราเขียนคล่อง ตัวหนังสือสวยและอ่านง่าย เด็กๆก็จะซึมซับตัวอย่างตัวอักษรที่เราเขียนไปด้วย

Technical Education
  • การให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  • การแสดงตัวอย่าง
  • ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

Evaluation

Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อย ร่วมทำกิจกรรมและตั้งใจทำกิจกรรม ทุกๆกิจกรรม                     และได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตนเองด้วย

Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังอาจารย์ดี และตั้งใจทำกิจกรรม


Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอและคอยกระตุ้นให้              นักศึกษาฝึกการคิดและมีเทคนิคต่างๆที่นำไปใช้ได้

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Lesson 7

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน  
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 26/10/58
เรียนครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08:30 - 12:30
กลุ่ม 101 วันจันทร์ ห้อง 223



Knowledge


กิจกรรมการทำไม้ชี้สำหรับใช้สอนเด็กปฐมวัย




วัสดุอุปกรณ์



  1. กระดาษร้อยปอนด์
  2. สี
  3. ไม้เสียบลูกโป่ง
  4. ดินสอ / ยางลบ
  5. หมึกดำ (เอาไว้ตัดเส้น)

วิธีการทำ
  1. นำกระดาษมาวาดรูปที่เราต้องการ
  2. ระบายสีให้สวยงาม
  3. วาดภาพและระบายสีเหมือเดิม เพื่อทำเป็นด้านหลัง
  4. นำภาพทั้ง 2 ภาพ มาประกบกัน
  5. นำกระดาษสีมาตกแต่ง พันรอบๆ ให้สวยงาม
  6. นำไม้เสียบลูกโป่งมาสอดไว้ตรงกลางและใช้กาวติด





ผลงานของดิฉัน


ผลงานของเพื่อนๆในกลุ่ม


ผลงานของเพื่อนๆทั้งห้อง



สรุป
       การทำไม้ชี้เพื่อสอนเด็กปฐมวันนั้น ควรทำปลายที่ชี้ให้ชัดเจน เพื่อที่เด็กจะได้รู้จุดที่เราชี้ได้อย่างแน่ชัด และจะเข้าใจมากขึ้นในสิ่งที่เราสอน



Skill
  • ทักษะการคิดสร้างสรรค์
  • ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • ทักษะการทำงานศิลปะ


Adoption

       ได้ออกแบบ ได้ใช้ความคิกสร้างสรรค์ และสามารถทำไม้ชี้ไว้ใช้ในการสอนได้

Evaluation

Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อย ร่วมทำกิจกรรมและตั้งใจทำกิจกรรม ทุกๆกิจกรรม                     และได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตนเองด้วย

Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังอาจารย์ดี และตั้งใจทำกิจกรรม


Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอและคอยกระตุ้นให้             นักศึกษาฝึกการคิดและมีเทคนิคต่างๆที่นำไปใช้ได้

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Lesson 6

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน  
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 19/10/58
เรียนครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08:30 - 12:30
กลุ่ม 101 วันจันทร์ ห้อง 223


Knowledge


เรื่อง ภาษาสร้างสรรค์

กิจกรรมเสียงอะไรเอ่ย


  • กิจกรรมทายเสียงสัตว์ มีทั้งหมด 11 เสียง ได้แก่
          หมา/ แมว/ หมู/ วัว/ ไก่โต่ง/ ม้า/ แม่ไก่/ ลา/ แพะ/ เป็ด/ และลูกเจี๊ยบ

  • กิจกรรมทายเสียงเครื่องดนตรี มีทั้งหมด 15 เสียง ได้แก่
          ไวโอลีน/ แซกโซโฟน/ ฮาโมนิก้า/ ฉาบ/ ทรอมโบน/ กีตาร์/ ออร์แกน 
          เปียโน/ ทรัมเป็ต/ ฟรุต/ ระนาดเหล็ก/ แตร/ กลองชุด/ เซลโล/ ปี่

***กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมในเรื่องของภาษาสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี***
 โดยเราอาจจะใช้คำถามกระตุ้นเด็กๆ ตัวอย่างเช่น
       - เด็กๆ คิดว่าเป็นเสียงของอะไร
       - เด็กๆ คิดว่ามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร
       - เด็กๆ คิดว่านอกจากเสียงนี้แล้วมีเสียงอะไรที่คล้ายๆกันอีกหรือป่าว


กิจกรรมเสียงกระซิบ

  • รอบที่1 เล่นกันทั้งห้องโดยไม่แบ่งกลุ่ม ให้คนแรกไปอ่านคำที่อาจารย์เตรียมไว้ให้และกระซิบตั้งแต่คนแรกจนไปถึงคนสุดท้าย และให้คนสุดท้ายยืนพูดคำที่ได้ยินมา ประโยคคือ
                                            แรดอย่างสงบ                       ตบเมื่อจำเป็น
                                      ตอแหลอย่างเยือกเย็น               เพราะเราเป็นไฮโซ
  • รอบที่2 แบ่งกลุ่มออกเป็น4กลุ่ม ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มที่อยู่หัวแถว ออกไปจับสลาก ประโยคที่ต้องมากระซิบเพื่อนในกลุ่มต่อจนถึงคนสุดท้าย ประโยคคือ
                          ฟังธรรมะจะได้ไม่โง่       แต่ถ้าฟังโปเตโต้       ถึงมีรักแท้ก็ดูแลไม่ได้
  • รอบที่3 ทำเหมือนรอบที่2 แต่เปลียนหัวแถว และคนในแถว ประโยคคือ
                                  โอ๋ดวงใจพี่โทรไปใยไม่รับ             ฤาจะดับความหวังพี่นี้ไฉน
                           คนเฝ้ารอเสียงสวรรค์ไหวหวั่นใจ         ครั้งต่อไปไม่รับสายตายแน่มึง
  • รอบที่ 4 ทำเหมือนรอบที่3 ประโยคคือ
                                                                   นิ่มเนื้อ ณ หนั่นนั้น    
                                                              น้ำนองนั่น ณ เนินนูน
                                                              หนาวเหน็บ ณ นี่นู่น
                                                              ก็แนบนั่น ณ หนั่นนาง


กิจกรรมแต่งคำคล้องจอง


กลุ่มของดิฉัน

อะไรเอ่ยรูปร่างสูงใหญ่ มันกินใบไม้อยู่ในทุ่งหญ้า
ลำคอสูงยาวสีเหลืองลายตา ท่าทางสง่ามาลองทายดู

อะไรเอ่ยรูปร่างใหญ่โต เขายาวมากโขไถนาก็ได้
มีขาสี่ข้างมีหางแกว่งไกว แช่โคลนสุขใจคู่หูชาวนา



กลุ่มของเพื่อนๆ

อะไรเอ่ยอยู่ในน้ำใส ไหว้เวียนว่องไวในสายธารา
มีครีบมีเหงือกมีหางและตา (ซ้ำ) อยากจะรู้ว่า เอ๊ะ! ตัวอะไร

อะไรเอ่ยชอบกินใบใผ่ รูปร่างตัวใหญ่มาจากเมืองจีน
ซุกซนและชอบป่ายปีน (ซ้ำ) มีชื่อหลินปิง เอ๊ะ! ตัวอะไร


อะไรเอ่ยตัวสูงคอยาว มีฟันสีขาวขายาวลายจุด
กินใบไม้บนยอดสูงสุด พอถึงวันหยุดเด็กชอบไปดู

อะไรเอ่ยเป็นเจ้าแห่งป่า เป็นสัตว์สี่ขาเลี้ยงลูกด้วยนม
มีขนแผงคอสวยงามน่าชม เด็กๆทุกคนมาลองทายดู

อะไรเอ่ยรูปร่างเล็กๆ ไม่ถูกสเปคกับแมวตัวใหญ่
ส่งเสียงกรี๊ดจี๊ดมีอยู่ทั่วไป สีดำนั้นไซร้ลองทายกันดู

อะไรเอ่ยมีหลายขนาด เจ้าหนูชอบถ้าโดนมันจับกิน
เมื่อเห็นปลาทูมันทำหน้าฟิน แมวเหมียวจะกิน มาลองทายดู


สรุป

กิจกรรมทั้งหมดนี้ เป็นกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ ทางภาษาให้เด็กเป็นอย่างมาก เพราะ เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้สนุกกับการทำกิจกกรรม เมื่อเด็กสนุกกับกิจกรรม เด็กก็จะพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ


Skill
  • ทักษะการคิด
  • ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • ทักษะการทำงานศิลปะ
  • ทักษะการนำเสนอผลงาน

Adoption

     นำกิจกรรมต่างๆและเทคนิคที่อาจารย์สอนไปปรับใช้ในการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาและเสริมทักษะทั้งทางด้านความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน และงานศิลปะ ให้กับเด็ก 

Evaluation

Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อย ร่วมทำกิจกรรมและตั้งใจทำกิจกรรม ทุกๆกิจกรรม                     และได้พัฒนาความคิดของตนเองด้วย

Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังอาจารย์ดี และตั้งใจทำกิจกรรม


Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอและคอยกระตุ้นให้                                 นักศึกษาฝึกการคิดและมีเทคนิคต่างๆที่นำไปใช้ได้